บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ
1) สายคู่บิดเกลียว (Twisted
pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว |
สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง
2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว
สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีการส่งสัญญาณ
สายคู่บิดเกลียว 1 คู่จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร(Channel) สำหรับการใช้งานจริงเช่นสายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายคู่บิดเกลียวอยู่ภายในเป็นร้อยๆ
คู่
สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล
และเนื่องจากสายคู่บิดเกลียวจะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่งสัญญาณ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีเครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกในระยะทางไกล ๆหรือทุก 5 – 6 กิโลเมตร สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลจะต้องมีเครื่องทบทวนสัญญาณ(Repeater)
ทุก ๆ 2 – 3 กิโลเมตร สายประเภทนี้มีด้วยกัน 2 ชนิดคือ
ก) สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่
บิดเกลียวที่หุ้มด้วยลวดถัดชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูปที่
2 เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน |
ข) สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็น
สายคู่บิดเกลียวมีฉนวนชั้นนอกที่บางอีกชั้นดังรูปที่
3 ทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่สามารถป้องกัน
การรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
แต่ก็มีราคาต่ำ จึงนิยมใช้ในการเชื่อมต่อ
อุปกรณ์ในเครือข่าย
ตัวอย่างสายคู่บิดเกลียวชนิดนี้ เช่น สายโทรศัพท์ที่ใช้อยู่ตามบ้าน
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน |
ตารางที่ 1 แสดงคุณลักษณะของสาย UTP ในแต่ละชนิด
ชนิดสายUTP
|
การนำไปใช้
|
ลักษณะ
สัญญาณ
|
แบนด์วิดท์
(Bandwidth)
|
อัตราการส่งข้อมูล(DataRate)
|
ระยะทาง
สูงสุด
|
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
CAT 1
|
สายโทรศัพท์
|
Analog
/Digital
|
Very low
|
< 100 Kbps
|
3 - 4 ไมล์
|
ราคาถูกมากและง่ายต่อการติดตั้ง
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 2
|
T-1, ISDN
|
Digital
|
< 2 MHz
|
2 Mbps
|
3 - 4 ไมล์
|
เช่นเดียวกับ CAT 1
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 3
|
LANs
|
Digital
|
16 MHz
|
10 Mbps
|
100
เมตร
|
เช่นเดียวกับ
CAT 1
แต่มีสัญญารบกวน
น้อยกว่า
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 4
|
LANs
|
Digital
|
20 MHz
|
20 Mbps
|
100
เมตร
|
เช่นเดียวกับ
CAT 1
แต่มีสัญญารบกวน
น้อยกว่า
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 5
|
LANs
|
Digital
|
100 MHz
|
100 Mbps
|
100
เมตร
|
เช่นเดียวกับ
CAT 1
แต่มีสัญญารบกวน
น้อยกว่า
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 5e
|
LANs
|
Digital
|
100 MHz
|
100
Mbps
1000
Mbps
(4 pair)
|
100
เมตร
|
เป็นสายที่มีคุณภาพสูงกว่าCAT
5
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 6
|
LANs
|
Digital
|
200 MHz
|
1000 Mbps
|
100
เมตร
|
อยู่ในช่วงของการร่างมาตรฐาน
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
CAT 7
|
LANs
|
Digital
|
600 MHz
|
10 Gbps
|
100
เมตร
|
อยู่ในช่วงของการร่าง
มาตรฐาน
|
ความปลอดภัย
และสัญญาณ
รบกวน
|
หัวเชื่อมต่อ (Modular Plugs) สายคู่บิดเกลียวจะใช้หัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45 ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-11ที่เป็นหัวที่ใช้กับสายโทรศัพท์ทั่ว
ๆ ไป ข้อแตกต่างระหว่างหัวเชื่อมต่อสองประเภทนี้คือ หัว RJ-45 จะมีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อยและไม่สามารถเสียบเข้ากับปลั๊กโทรศัพท์ได้
และหัว RJ-45 จะเชื่อมสายคู่บิดเกลียว 4 คู่ ในขณะที่หัว RJ-11 ใช้ได้กับสายเพียง 2 คู่เท่านั้น ดังรูปที่ 12 จะแสดงสาย UTP และหัวเชื่อมต่อแบบ RJ-45
หัวเชื่มต่อ RJ-45 สำหรับสายรุ่น CAT 5e |
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
1. ราคาถูก
|
1. ความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำเมื่อเทียบกับสื่อประเภทอื่น
|
2. ง่ายต่อการนำไปใช้งาน
|
2. ใช้ได้ในระยะทางสั้นๆ
|
3. ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ป้องกันสัญญาณรบกวน
จะไวต่อสัญญาณสัญญาณรบกวน (Noise) ภายนอก
|
การเข้าหัว RJ-45 สำหรับสายคู่บิดเกลียว
การเข้าหัวแบบสายตรง
หรือ Straight-through นั้น
เป็นการเข้าหัวสำหรับสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างชนิดกัน เช่น
การใช้สายต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Switch หรือ HUB
ให้เชื่อมต่อแบบ EIA/TIA 568B ทั้งสองข้างของการเข้าสาย
การเข้าแบบไขว้
หรือ Crossover เป็นการเข้าหัวสำหรับสายสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ชนิดเดียวกัน
เช่น HUB to HUB , Switch To Switch หรือ คอมพิวเตอร์กับ
คอมพิวเตอร์ เราสามารถที่จะใช้ระหว่าง คอมพิวเตอร์ กับ Notebook ก็ได้ โดยให้เข้าสายโดยข้างหนึ่งเป็นแบบEIA/TIA568B และอีกข้างเป็น
EIA/TIA 568A
หัวเชื่อต่อ RJ-45 |
สายโคแอ็กเชียล
(Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอ็ก (Coax)
จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็ก มีความหมายว่า
"มีแกนร่วมกัน" นั่นคือตัวนำทั้งสองตัวมีแกนร่วมกันนั่นเอง
ในอดีตนิยมใช้สำหรับระบบเครือข่ายส่วนท้องถิ่น (LAN) แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้มากนัก
ส่วนใหญ่จะใช้เป็นสายสัญญาณจากเสาอากาศโทรทัศน์
ส่วนประกอบของสายโคแอ็กเชียล
1. ส่วนฉนวนชั้นนอกสุด
เป็นส่วนที่ใช้หุ้มสายเพื่อป้องกันการกระแทก ฉีกขาดของสายภายใน
2. ส่วนชีลด์ เป็นโลหะ
อาจเป็นแผ่นหรือใช้การถักให้เป็นแผง หุ้มอยู่ชั้นนอก ทำหน้าที่ป้องกันสัญญา
3. ส่วนไดอิเล็กทริก
เป็นตัวขั้นกลางระหว่างส่วนของ อินเนอร์ และ ชีลด์ ฉนวนนี้มีความสัมคัญในส่วนของการลดทอนสัญญาณด้วย
มักเป็น โพลิเอธิลีน(PE) หรือโฟม
4. ส่วนนำสัญญาณหรืออินเนอร์
เป็นตัวนำอยู่ภายในสุด ทำหน้าที่นำสัญญาณจากอุปกรณ์ต้นทางไปยังปลายทาง
สายโคแอ็กเชียล |
หัวเชื่อมต่อ
สายโคแอ็กเชียลทั้ง 2
ประเภทจะใช้หัวเชื่อมต่อชนิดเดียวกันที่เรียกว่าหัว BNC ซึ่งมีหลายแบบดังต่อไนี้
1. หัวเชื่อมต่อแบบ BNC (BNC Connector) เป็นหัวที่เชื่อมเข้ากับปลายสาย
2. หัวเชื่อมสายรูปตัว T (T Connector) ใช้เชื่อมต่อระหว่างสายสัญญาณ
3. ตัวสิ้นสุดสัญญาณ (Terminator) ใช้ในการสิ้นสุดสัญญาณที่ปลายสายเพื่อไม่ให้สัญญาณที่ส่งมาถูกสะท้อนกลับ
ถ้าไม่อย่างนั้นสัญญาณจะสะท้อนกลับทำให้รบกวนสัญญาณที่ใช้ส่งข้อมูลอื่นๆ ทำให้การส่งสัญญาณหรือข้อมูลล้มเหลวได้
ตัวสิ้นสุดสัญญาณ |
สายโคแอ็กเชียลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. สายโคแอ็กเชียลแบบบาง
(Thin Coaxial cable)
- ขนาด 0.64 cm.
- ขนาดเล็ก มีความยืดหยุ่นสูง
- นำสัญญาณได้ไกลประมาณ 185 m.
- ใช้เชื่อมต่อกับ Computer โดยใช้มาตรฐาน Ethernet
2. สายโคแอ็กเชียลแบบหนา
(Thick Coaxial cable)
- ขนาด 1.27 cm.
- ขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่า
- นำสัญญาณได้ไกล 500 m.
- นิยมใช้เป็นสายส่งสัญญาณหลัก (Backbone) ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ
แต่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมและถูกแทนที่ด้วยเส้นใยนำแสง (Fiber optic cable)
สายโคแอ็กเชียลแบบหนาและแบบบาง |
สายโคแอ็กเชียลสามารถถ่ายทอดสัญญาณได้
2 แบบ คือ
1. บรอดแบนด์ (Broadband Transmission)
- แบ่งสายสัญญาณออกเป็นช่องสัญญาณขนาด
เล็กจำนวนมาก ใช้ในการส่งสัญญาณ โดยจะมี
ช่องสัญญาณกันชน (Guard Band) ป้องกัน
การรบกวนกัน
- แต่ละช่องสัญญาณสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้
พร้อมกัน
- สัญญาณ Analog
- ใช้ในการส่งสัญญาณโทรทัศน์ได้หลายร้อยช่อง
- ตัวอย่าง Cable TV
|
2. เบสแบนด์ (Baseband Transmission)
- มีเพียงช่องสัญญาณเดียว
- มีความกว้างของช่องสัญญาณมาก
- การส่งสัญญาณเป็นแบบ Halfduplex
- ใช้ในระบบ LAN ส่งสัญญาณแบบ
Digital
- อุปกรณ์มีความซับซ้อนน้อยกว่าแบบ
แรก
|
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายโคแอ็กเชียล
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
1. เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล 500 เมตร
(สำหรับ Thick coaxial cable)
2. ลดสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ดี
3. ป้องกันการสะท้อนกลับ (Echo) ได้ดี
|
1. ราคาแพง
2. สายมีขนาดใหญ่
3. ติดตั้ง Connector ยาก
|
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable)
เส้นใยนำแสง |
เส้นใยนำแสง (Fiber Optic Cable) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใยแก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ
เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง
และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ
ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง
การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอักตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก
และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร
เสียง ภาพ หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีความปลอดภัยในการส่งสูง
ตารางที่ 6 เปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของสายเส้นใยนำแสง
ข้อดี
|
ข้อเสีย
|
1. ส่งข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็วสูง
(Bandwidth มาก)
2. ส่งได้ระยะทางไกล สัญญาณอ่อนกำลังยาก
3. ไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มี
ข้อผิดพลาดน้อย
4. มีความปลอดภัยสูง
5. ขนาดเล็ก น้ำหนักเบา
6. มีความทนทาน สามารถติดตั้งในที่ที่มี
อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากได้
7. ค่าใช้จ่ายจะถูกกว่าสายทองแดง ถ้าใช้งาน
ในระยะทางไกล
|
1. เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหัก
ง่าย
2. การเดินสายจำเป็นต้องระมัดระวังอย่า
ให้มีความโค้งงอมาก
3. ค่าใช้จ่ายสูง เมื่อเทียบกับสายทั่วไป
4. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะ
|
2. หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย(LAN Topology) แบบใดเพราะอะไร
โทโปโลยีแบบวงแหวน
โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย
ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ
เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม
ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกันจะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน
โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว
ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัว
ของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง
ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป
ข้อดี
- ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ๆ กัน โดยกำหนดตำแหน่งปลายทางเหล่านั้นลงในส่วนหัวของแพ็กเกจข้อมูล Repeaterของแต่ละเครื่องจะทำการตรวจสอบเองว่า ข้อมูลที่ส่งมาให้นั้น เป็นตนเองหรือไม่
- การส่งผ่านข้อมูลในเครือข่ายแบบ RING จะเป็นไปในทิศทางเดียวจากเครื่องสู่เครื่อง จึงไม่มีการชนกันของสัญญาณ ข้อมูลที่ส่งออกไป
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- ถ้ามีเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย ข้อมูลจะไม่สามารถส่งผ่านไปยังเครื่องต่อ ๆ ไปได้ และจะทำให้เครือข่ายทั้งเครือข่าย หยุดชะงักได้
- ขณะที่ข้อมูลถูกส่งผ่านแต่ละเครื่อง เวลาส่วนหนึ่งจะสูญเสียไปกับการที่ทุก ๆ Repeater จะต้องทำการตรวจสอบตำแหน่งปลายทางของข้อมูลนั้น ๆ ทุก ข้อมูลที่ส่งผ่านมาถึง
โทโปโลยีแบบวงกลม |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น