บทที่ 5 เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
1. อธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
1.1
Wold Wide Web ( WWW )
Wold Wide Web (
WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า
“ เว็บ “ ( Web ) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม
ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า
แต่ละหน้าเรียกว่า “เว็บเพจ” ( Web Page ) แหล่งเก็บเว็บเพจ
เว็บไซต์ หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นโกดังหรือแหล่งเก็บเว็บเพจต่าง ๆ
ที่มีการเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต
ซึ่งเว็บบราวเซอร์จะทำการติดต่อกับเว็บไซต์ที่เก็บเว็บเพจนั้น
ปัจจุบันหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือภาคเอกชน
รวมทั้งองค์กรอิสระต่างๆให้ความสนใจในการสร้างเว็บไซต์ของตัวเอง
เพื่อเป็นแหล่งสารสนเทศ
ข้อมูลและข่าวสารเพื่อการเผยแพร่ข้อมูลภายในองค์กรของตัวเอง
URL คือ
ตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจ
ดังนั้นเมื่อต้องการเปิดเว็บเพจที่ต้องการจะต้องระบุตำแหน่งที่ต้องการ จะต้องระบุตำแหน่งของเว็บเพจนั้น
ๆ ซึ่งเรียกว่า URL ( Uniform Resource Location )
การอ่านข้อมูลจากเว็บบราวเซอร์
Web Browser ทุกชนิดจะทำงานโดยการอ่านข้อมูลจาก
Web Server ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้ง Web
Browser
w=world = โลก
w=wide = กว้างขวาง แพร่หลาย
w=web = โครงข่าย
ใยแมงมุม
รวมๆน่าจะหมายถึง
ระบบเชื่อมโยงเป็นแบบโครงข่าย ใยแมงมุมและแพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง ทั่วโลก
สากลบ้านเรามีคนพูดบ่อยๆว่าเป็น ระ
ดับ เวิลด์ วายด์ นั้นดีที่สุด(ก็ระดับโลกธรรมดานี้เอง
1.2 E-mail
อีเมล์ คือ วิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือ
แทนการส่งจดหมายแบบกระดาษ โดยใช้การส่งข้อมูลในรูปของสัญญาณข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากเครื่องหนึ่งไปยังผู้รับอีกเครื่องหนึ่ง
อีเมล์แอดเดรส (
E- mail Address) คือ ที่อยู่ในอินเทอร์เน็ต
หรือที่อยู่ของตู้จดหมายของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต
ใช้สำหรับบอกตำแหน่งของผู้รับว่าอยู่ที่ไหน เช่น somchai@hotmail.com
ส่วนประกอบของอีเมล์แอดเดรส ประกอบด้วย ส่วนสำคัญ ดังตัวอย่างนี้
1.
ชื่อบัญชีสมาชิกของผู้ใช้เรียกว่า
user name อาจใช้ชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อองค์กร
ก็ได้
2.
ส่วนนี้ คือ
เครื่องหมาย @ ( at sign) อ่านว่า
แอท
3.
ส่วนที่สาม คือ
โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่เราสมัครเป็นสมาชิกอยู่
เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์
4.
ส่วนสุดท้ายเป็นรหัสบอกประเภทขององค์กรและประเทศ
ในที่นี้คือ .co.th โดยที่ .co
หมายถึง commercial เป็นบริการเกี่ยวกับการค้า
ส่วน .th หมายถึง Thailand อยู่ในประเทศไทย
รหัสบอกประเภทขององค์กร คือ
.com = commercial บริการด้านการค้า
.edu = education สถานศึกษา
.org = orgnization องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
.gov = government หน่วยงานรัฐบาล
.net = network หน่วยงานบริการเครือข่าย
ตัวอย่าง e-mail address
stg@mail.ians.navy.mi.th somchai@access.inet.co.th somchai@ku.ac.th
1.3 Web browser
เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์
ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ
เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์
หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
ประโยชน์ของ
Web
Browser
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
สามารถดูเอกสารภายในเว็บเซิร์ฟเวอร์ได้ อย่างสวยงามมีการแสดงข้อมูลในรูปของ ข้อความ ภาพ และระบบมัลติมีเดียต่างๆ ทำให้การดูเอกสารบนเว็บมีความน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นในปัจจุบัน ปัจจุบัน web browser ส่วนใหญ่จะรองรับ html 5 และ อ่าน css เพื่อความสวยงามของหน้า web page
รายชื่อเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย
·
Internet
Explorer
·
Mozilla
Firefox
·
Google Chrome
·
Safari
1.4 Domain name
โดเมนเนม
ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก
ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่ายทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป
ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ
ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร
โดนเมนเนม มีด็อทอยู่หลายประเภทแต่ที่นิยมมากที่สุดนั้นก็คือ .com เพราะเป็นด็อทในยุคแรกๆ ที่เริ่มใช้กัน
และง่ายต่อการจดจำ
ประเภทของ Domain Name แบ่งได้เป็น
2 ประเภท
1. โดเมน 2
ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน
2. โดเมน 3
ระดับ ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน .
ประเทศ
โดนเมนเนม 2 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน . ประเภทของโดเมน เช่น www.b2ccreation.com
ประเภทของโดเมน คือ คำย่อขององค์กร โดยประเภทขององค์กรที่พบบ่อย
มีดังต่อไปนี้
* .com คือ
บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .org คือ
องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
* .net คือ
องค์กรที่เป็นเกตเวย์ หรือ จุดเชื่อมต่อเครือข่าย
* .edu คือ
สถาบันการศึกษา
* .gov คือ
องค์กรของรัฐบาล
* .mil คือ
องค์กรทางทหาร
โดนเมนเนม 3 ระดับ
จะประกอบด้วย www . ชื่อโดเมน .
ประเภทของโดเมน . ประเทศ เช่น www.kmitnb.ac.th, www.nectec.or.th, www.google.co.th
ประเภทขององค์กรที่พบบ่อยคือ
* .co คือ
บริษัท หรือ องค์กรพาณิชย์
* .ac คือ
สถาบันการศึกษา
* .go คือ
องค์กรของรัฐบาล
* .net คือ
องค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
* .or คือ
องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
ตัวย่อของประเทศที่ตั้งขององค์กร
* .th คือ ประเทศไทย
* .cn คือ ประเทศจีน
* .uk คือ ประเทศอังกฤษ
* .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
* .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
โดนเมนเนม
ถือเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกที่มองข้ามไม่ได้เลยสำหรับเว็บไซต์นั้นๆ
โดยเฉพาะกับการโฆษณาบนอินเตอร์เน็ท ถ้าได้ชื่อที่เฉพาะเจาะจง
ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความสนใจเป็นพื้นฐานเดิมอยู่แล้วนั้น จะทำให้โดเมนเนม
หรือ เว็บไซต์นั้นๆ จะได้รับความสนใจและเป็นที่จดจำได้ง่ายไม่ใช่กับผู้เข้าชมหรือกลุ่มเป้าหมายที่เข้ามาชมเว็บไซต์ผ่านโดมเนมเท่านั้นยังรวมไปถึง
Search Engine ชื่อดังต่างๆ เช่น Google Yahoo
MSN เป็นต้น ที่จะเข้ามาแวะเวียนเข้ามาทำ index กับเว็บเพจหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์ของเรา
หลังจากจดโดนเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สิ่งสำคัญลำดับถัดมานั้นก็คือ โฮสติ้ง (Hosting) หรือ ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเรานั้นเอง ซึ่งโฮสติ้งแต่ละที่จะมี DNS
หรือ Name Server ที่ทางผู้ให้บริการโฮสติ้ง
จะเป็นคนกำหนดและแจ้งให้เราทราบเพื่อเอาไปใส่ให้โดมเมเนมของเรา เช่น DNS ของ B2C Creation จะมีชื่อว่า NS1.B2CCREATION.COM
และ NS2.B2CCREATION.COM ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้
เพราะถ้าคุณจด Domain Nameและใช้บริการโฮสติ้งกับผู้ให้บริการคนเดียวกันจะไม่มีปัญหาอะไรเลยครับ
หรือแม้ว่าจะเป็นคนละคนกัน เพียงแค่นำ DNS ที่ได้
ไประบุให้กับโดเมนเนมนั้นตามที่ได้อธิบายไปแล้ว
1.5 IP Address
IP Address ย่อมาจากคำเต็มว่า
Internet Protocal Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลแบบ
TCP/IP
ถ้าเปรียบเทียบก็คือบ้านเลขที่ของเรานั่นเอง ในระบบเครือข่าย จำเป็นจะต้องมีหมายเลข
IP กำหนดไว้ให้กับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ
ที่ต้องการ IP ทั้งนี้เวลามีการโอนย้ายข้อมูล หรือสั่งงานใดๆ
จะสามารถทราบตำแหน่งของเครื่องที่เราต้องการส่งข้อมูลไป
จะได้ไม่ผิดพลาดเวลาส่งข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด
มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด เช่น 192.168.100.1 หรือ 172.16.10.1
เป็นต้น โดยหมายเลข IP
Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีค่าไม่ซ้ำกัน
สิ่งตัวเลข 4 ชุดนี้บอก คือ Network ID กับ Host ID ซึ่งจะบอกให้รู้ว่า เครื่อง computer
ของเราอยู่ใน network ไหน และเป็นเครื่องไหนใน
network นั้น เราจะรู้ได้อย่างไรว่า Network ID และ Host ID มีค่าเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับว่า IP
Address นั้น อยู่ใน class อะไร
เหตุที่ต้องมีการแบ่ง
class ก็เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบ เป็นการแบ่ง IP
Address ออกเป็นหมวดหมู่นั้นเอง สิ่งที่จะเป็นตัวจำแนก class
ของ network ก็คือ bit ทางซ้ายมือสุดของตัวเลขตัวแรกของ
IP Address (ที่แปลงเป็นเลขฐาน 2 แล้ว)
นั่นเอง โดยที่ถ้า bit ทางซ้ายมือสุดเป็น 0 ก็จะเป็น class A ถ้าเป็น 10
ก็จะเป็น class B ถ้าเป็น 110 ก็จะเป็น
class C ดังนั้น IP Address จะอยู่ใน class
A ถ้าตัวเลขตัวแรกมีค่าได้ตั้งแต่ 0 ? 127 (000000002 ?
011111112) จะอยู่ใน class B ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่
128 ? 191 (100000002 ? 101111112) และ จะอยู่ใน class
C ถ้าเลขตัวแรกมีค่าตั้งแต่ 192 - 223 (110000002 ?
110111112) มีข้อยกเว้นอยู่นิดหน่อยก็คือตัวเลข 0, 127 จะใช้ในความหมายพิเศษ จะไม่ใช้เป็น address ของ network
ดังนั้น network ใน class A จะมีค่าตัวเลขตัวแรก ในช่วง 1 ? 126
สำหรับตัวเลขตั้งแต่
224 ขึ้นไป จะเป็น class พิเศษ อย่างเช่น
Class D ซึ่งถูกใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Multicast
ของบาง Application และ Class E ซึ่ง Class นี้เป็น Address ที่ถูกสงวนไว้ก่อน
ยังไม่ถูกใช้งานจริง ๆ โดย Class D
และ Class E นี้เป็น Class พิเศษ ซึ่งไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในภาวะปกติ
ตัวอย่าง IP Address
Class A ตั้งแต่
10.xxx.xxx.xxx
Class B ตั้งแต่
172.16.xxx.xxx ถึง 172.31.xxx.xxx
Class C ตั้งแต่
192.168.0.xxx ถึง 192.168.255.xxx
จาก IP Address เราสามารถที่จะบอก ได้คร่าวๆ ว่า computer
2 เครื่องอยู่ใน network วงเดียวกันหรือเปล่าโดยการเปรียบเทียบ
Network ID ของ IP Address ถ้ามี Network
ID ตรงกันก็แสดงว่าอยู่ใน network วงเดียวกัน
เช่น computer เครื่องหนึ่งมี IP Address 1.2.3.4 จะอยู่ใน network วงเดียวกับอีกเครื่องหนึ่งซึ่งมี IP
Address 1.100.150.200 เนื่องจากมี Network ID ตรงกันคือ 1 (class A ใช้ Network ID 1 byte)
วิธีตรวจสอบ IP Address
1.คลิกปุ่ม Start
เลือก Run
2.พิมพ์คำว่า
cmd กดปุ่ม OK
3.จะได้หน้าต่างสีดำ
4.พิมพ์คำว่า
ipconfig กด enter
5.จะเห็นกลุ่มหมายเลข
IP Address
*********************************************************************************
2. อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
เทคโนโลยีสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญในการช่วยการจัดการศึกษาให้บรรลุอุดมการณ์ทางการศึกษา
ตาม นโยบายการจัดการศึกษาของรัฐ ซึ่งจะต้องจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับทุกคน
หรือที่เรียกว่า การศึกษาเพื่อปวงชนทุกคน
อันเป็นการลดความเหลื่อมล้ำโอกาสทางการศึกษาสร้างความเท่าเทียมทางด้าน
การศึกษาเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันไม่ว่าเป็น
เทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศ
เทคโนโลยีทางด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีทางด้านโทรคมนาคม
ซึ่งเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการศึกษาทั้งสิ้น
เช่นการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
นักเรียนชนบท
ทุรกันดารสามารถเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับนักเรียนที่อยู่ในเมือง
ระบบอินเตอร์นักเรียนก็สามารถเรียนรู้ได้ทั่วโลก
หรืออาจเรียกได้ว่ามีห้องสมุดโลกอยู่ที่โรงเรียน หรืออยู่ที่บ้าน โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา เสียงบประมาณในการที่จัดซื้อหาหนังสือให้มากมาย
เหมือนสมัยก่อน นอกจากนั้นแล้วผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างอิสระ
นอกจากนั้นยังมีสื่อที่เป็นวิทยุ โทรทัศน์ ซีดีรอม สื่ออิเลคทรอนิกส์
ที่ทำให้ประชาชนทุกคนได้เรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
แต่แนวโน้มในการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่หรือคอมพิวเตอร์มาใช้ในการศึกษาในปัจจุบันและอนาคตจะเป็นรูปแบบของการเรียนการสอน
โดยนำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ มาผสมผสานกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมีลักษณะเฉพาะ คือ มีความสามารถในการนำเสนอข้อมูลผ่านระบบ
World Wide Web ในการใช้เพื่อการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based
Instruction : WBI) หรือ E-learning ซึ่งวงการศึกษาคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากยิ่ง
แต่กระผมรู้สึกในส่วนตัวว่าอนาคตการศึกษาไทยที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์จะไม่มีคุณภาพโดยเฉพาะการศึกษาทั้งในระบบ
นอกระบบ และตามอัธยาศัย เหมือนกับที่อ่านในตำรา
เนื่องด้วยปัจจุบันนักศึกษาสามารถสืบหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดตำรา
แค่เพียงไปค้นหาในอินเตอร์เน็ตก็เจอ
ทำให้นักศึกษาบางคนอาจจะไม่ได้อ่านเนื้อหาเหล่านั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
เป็นเพียงแค่สืบค้นแล้วนำมาตัดแปะปรับแต่ง
เทคโนโลยี Tablet กับการศึกษา
กระแสความนิยมใน Tablet PC หรือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบกระดานชนวน
ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง บริษัทต่างๆ ทยอยกันเปิดตัวTablet PC ของตัวเองอย่างคึกคัก
ไม่เว้นแม้แต่ค่ายมือถือชื่อดังอย่าง BlackBerryที่เพิ่งเปิดตัว
BlackBerry Playbook ซึ่งเป็น Tablet PC ตัวเก่งตัวแรกของบริษัท ไปอย่างคึกคักในสหรัฐอเมริกาและแคนนาดา
ด้วยความคาดหวังว่าจะสามารถแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาดจาก Apple ที่ยืนตระหง่านเป็นเจ้าบัลลังค์
Tablet PC ตระกูล iPad อยู่ขณะนี้
เหตุผลที่ Tablet PC กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้
นั่นเพราะประโยชน์อันหลากหลาย
และรูปแบบที่ทันสมัย พกพาได้สะดวกสบาย จะใช้ต่ออินเตอร์เน็ตก็ได้ ถ่ายรูปก็ดี
เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้ เช็คข้อมูลข่าวสาร อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์หรือ E-Book
ก็ยังได้
อย่างไรก็ตามจากผลการสำรวจล่าสุดในต่างประเทศของ Admob กลับพบว่า
ผู้คนที่ยอมควักกระเป๋าเพื่อครอบครองเจ้า Table PC นั้น
กลับใช้ในการนำมาเล่นเกมส์มากที่สุด รองลงมาคือใช้ในการค้นคว้าหาข้อมูล เช็คอีเมล์
เช็คข้อมูลข่าวสาร และใช้งานพวก Facebook
, Twitter โดยอันดับรั้งท้ายคือ
ใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์ หรือ E-Book
แต่ประโยชน์สุดๆ ของเจ้า Tablet PC นี้คือการใช้อ่านหนังสืออิเลคทรอนิคส์
หรือ E-Book สำหรับท่านที่ยังไม่คุ้นเคยกับคำว่า E-Book ผมขอเล่าคร่าวๆ ให้ฟังสักนิดนะครับ
เจ้า E-Book นี่ก็หน้าตาเหมือนกันกับหนังสือที่พิมพ์เป็นเล่มๆ
บนกระดาษนี่ล่ะครับ
แต่จะต้องอ่านผ่านหน้าหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือหน้าจอของ Tablet
PC ซึ่งมีขนาดหน้าจอใหญ่พอๆ
กับหนังสือจริงๆ เลยทีเดียว
อีกทั้งยังสามารถอ่านได้ในที่มืดได้อีกด้วยโดยใช้แสงสว่างจากจอเข้ามาเป็นตัวช่วย
ปัจจุบันนี้เริ่ม มีการใช้ Tablet PC ในแวดวงการศึกษากันอย่างคึกคักเลยทีเดียว
ตัวอย่างเช่นในรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถึงขั้นลงทุนซื้อ Table PC แจกให้กับนักเรียนเพื่อใช้แทนหนังสือในรูปแบบเดิมๆ ทั้งนี้เพราะTablet PC จะช่วยประหยัดงบประมาณในการจัดพิมพ์หนังสือและตำราเรียนได้อย่างมากมาย
อีกทั้งยังทำให้การปรับปรุงเนื้อหาตำราเรียนสามารถทำได้อย่างทันท่วงที
โดยไม่ต้องรอหนังสือเป็นเล่มๆ หมดแล้วค่อยพิมพ์ใหม่แบบเดิมๆ อีกต่อไป เพราะหนังสือต่างๆ ที่อยู่บน Tablet PC
นั้นล้วนแล้วแต่เป็นหนังสืออิเลคทรอนิคส์ที่ถูกเก็บไว้ในรูปดิจิตอล
จึงสามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา
Tablet PC หนึ่งเครื่องนั้นสามารถบรรจุหนังสือได้เป็นพันๆ
เล่ม โดยผู้อ่านสามารถเลือกเล่มไหนขึ้นมาอ่านก่อนก็ได้
ความสามารถพิเศษอีกอย่างหนึ่งของTablet PC คือการเชื่อมโยงครูอาจารย์
และนักเรียนนักศึกษา เข้าด้วยกันผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต
ทำให้ข้อจำกัดเรื่องสถานที่ในการเรียนการสอนหมดไป ครูอาจารย์ และนักเรียนนักศึกษา
สามารถอยู่กันคนละที่แต่เข้ามาเรียนพร้อมกันแบบเห็นหน้าเห็นตาผ่านทางกล้องที่ถูกติดตั้งมาบนTablet
PC ได้
จึงทำให้การเรียนการสอนทางไกลเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย
และเข้าไปถึงกลุ่มคนทุกชั้นไม่ว่าจะอยู่ในชนบทห่างไกลแค่ไหนก็ตาม
สำหรับในประเทศไทย
สถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยบางแห่งเริ่มมีการแจก Tablet PC ให้กับนักศึกษาใหม่แล้ว
รวมทั้งในปี พ.ศ.2555 นี้ก็ได้มีการแจก Tablet ให้กับเด็กป.
1 แล้วด้วย
แต่การนำไปประยุกต์ใช้ยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนแน่นอนเพราะยังต้องอาศัยการพัฒนาโปรแกรมมารองรับรวมทั้งเนื้อหาตำราในรูปแบบ
E-Book ที่จะต้องมีจำนวนมากกว่านี้ ในขั้นนี้ Tablet PC ในไทยจึงอาจเป็นได้แค่เครื่องมือที่ไว้จูงใจนักศึกษาหรือสร้างภาพลักษณ์ทันสมัยให้กับมหาวิทยาลัยก่อน แต่ในอนาคต เมื่อราคาจำหน่ายของ Tablet
PC ถูกลงกว่านี้จะมีจำนวนของหนังสือตำราเรียนต่างๆ ทยอยเข้าสู่E-Book
มากขึ้น รวมทั้งจะมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อรองรับการอ่าน E-Book
แบบไทย ๆ มากขึ้น เมื่อถึงเวลานั้นTablet PC จะกลายเป็นช่องทางใหม่
ที่เปลี่ยนรูปโฉมการเรียนการสอนและการกระจายความรู้ให้เข้าถึงคนไทยได้อย่างมากมายมหาศาลเลยทีเดียวครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น